เมนู

กรดจึงพัดอยู่บนกระหม่อมของท่าน ผู้ถูก
ความปรารถนาครอบงำไว้.
[797] อันธรรมดาตัณหาเป็นสิ่งที่กว้างขวางอยู่
ณ เบื้องบน ให้เต็มได้ยาก มักเป็นไปตาม
อำนาจของความปรารถนา เพราะฉะนั้น ชน
เหล่าใดมีกำหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่านั้น
จึงต้องเป็นผู้ทูนจักรกรดไว้.

จบ มิตตวินทุกชาดกที่ 9

อรรถกถามิตตวินทุกชาดกที่ 9


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กฺยาหํ
เทวานมกรํ
ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันจักมีแจ้งในมหามิตตวินทุกชาดก. ก็นายมิตตวิน-
ทุกะนี้ถูกเขาโยนทิ้งในทะเล แล้วได้ไปพบนางเวมานิกเปรตแห่งหนึ่ง
4 นาง แห่งหนึ่ง 8 นาง แห่งหนึ่ง 16 นาง แห่งหนึ่ง 32 นาง
ก็ยังเป็นผู้ปรารถนายิ่งขึ้นไม่รู้จักพอ จึงเป็นต่อไปข้างหน้า ได้พบ
อุสสุทนรกอันเป็นสถานที่เสวยวิบากของพวกสัตว์นรก จึงได้เข้าไป
ด้วยสำคัญว่า เป็นเมือง ๆ หนึ่ง เห็นจักรกรดพัดอยู่บนหัวสัตว์นรก
สำคัญว่าเป็นเครื่องประดับ จึงยินดีชอบใจจักรกรด อ้อนวอนขอได้มา.

คราวนั้น พระโพธิสัตว์เป็นเทวบุตรเที่ยวจาริกไปในอุสสุทนรก. นาย
มิตตวินทุกะนั้นเห็นพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว เมื่อจะถาม จึงกล่าวคาถา
ที่ 1 ว่า :-
ข้าพเจ้าได้กระทำอะไรไว้แก่เหล่าเทวดา
บาปอะไรที่ข้าพเจ้าได้กระทำไว้ จักรกรดจึง
ได้มากระทบศีรษะของข้าพเจ้าแล้วพัดอยู่บน
กระหม่อม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กฺยาหํ เทวานมกรํ ความว่า
ข้าแต่เทพบุตรผู้เป็นนาย ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมชื่ออะไรไว้ แก่เหล่า
เทพดา เหล่าเทพดาเบียดเบียนข้าพเจ้าทำไม. บทว่า กึ ปาปํ
ปกตํ มยา
ความว่า นายมิตตวินทุกะได้รับทุกขเวทนา กำหนด
บาปที่คนทำไว้ไม่ได้ เพราะมีทุกข์มาก จึงได้กล่าวอย่างนั้น. บทว่า
ยํ เม ความว่า จักรกรดนี้จรดคือกระทบศีรษะข้าพเจ้า แล้วหมุน
อยู่บนกระหม่อมขอข้าพเจ้า เพราะบาปใด บาปนั้นชื่ออะไร ?
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ 2 ว่า :-
ท่านล่วงเลยปราสาทแล้วผลึก ปรา-
สาทแก้วมณี ปราสาทเงิน และปราสาททอง
แล้วมาที่นี้เพราะเหตุอะไร ?

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมณภํ ได้แก่ ปราสาทแก้วผลึก.
บทว่า ทุพฺพกํ ได้แก่ ปราสาทแก้วมณี. บทว่า สทามตฺตํ ได้แก่

ปราสาทเงิน. บทว่า พฺรหฺมตรญฺจ ปาสาทํ ได้แก่ ปราสาททอง.
บทว่า เกนฏฺเฐน ความว่า ท่านละนางเทพธิดาเหล่านี้ คือ เทพธิดา
4 นาง 8 นาง 16 นาง และ 32 นาง ในปราสาทแก้วผลึกเป็น
ต้นเหล่านี้ แล้วก้าวล่วงปราสาทเหล่านั้นมาที่นี้ เพราะเหตุอะไร ?
ลำดับนั้น นายมิตตวินทุกะกล่าวคาถาที่ 3 ว่า :-
เชิญท่านดูข้าพเจ้าผู้ถึงความฉิบหาย
เพราะความสำคัญนี้ว่า โภคสมบัติในที่นี้
เห็นจะมีมากกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่
นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต พหุตรา ความว่า จักมี
เหลือเฟือกว่าโภคสมบัติในปราสาททั้งสี่นี้.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาที่เหลือว่า :-
ท่านละทิ้งนางเวมานิกเปรต 4 มาได้
นางเวมานิกเปรต 8 ละทิ้งนางเวมานิกเปรต
8 มาได้นางเวมานิกเปรต 16 ละทิ้งนางเว-
มานิกเปรต 16 มาได้นางเวมานิกเปรต 32
ยังปรารถนายิ่งขึ้นไม่รู้จักพอ มายินดีจักร-
กรด จักรกรดจึงพัดอยู่บนกระหม่อมของ
ท่านผู้ถูกความปรารถนาครอบงำ.

อันธรรมดาตัณหาเป็นสิ่งที่กว้างขวางอยู่
ในเบื้องบน ให้เต็มได้ยาก มักเป็นไปตาม
อำนาจของความปรารถนา เพราะฉะนั้น ชน
เหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้น ชนเหล่า
นั้นจึงต้องเป็นผู้ทูนจักรกรดไว้.

ด้วยบทว่า อุปริ วิสาลา นี้ ในคาถานั้น พระโพธิสัตว์
กล่าวว่า ดูก่อนมิตตวินทุกะ ขึ้นชื่อว่าตัณหานี้ เมื่อบุคคลส้องเสพอยู่
ย่อมเป็นของกว้างขวางอยู่เบื้องบน คือเป็นของแผ่ไป ธรรมดาตัณหา
ให้เต็มได้โดยยาก เสมือนมหาสมุทร มีปกติไปตามอำนาจความอยาก
ได้ คือความปรารถนาซึ่งอยากได้อารมณ์นั้น ๆ ในบรรดารูปารมณ์
เป็นต้น เพราะฉะนั้น คนเหล่าใดมากำหนัดยินดีตัณหานั้นคือเห็น
ปานนั้น คือเป็นผู้อยากได้แล้ว ๆ เล่า ๆ ยึดถืออยู่. บทว่า เต โหนฺติ
จกฺกธาริโน
ความว่า ชนเหล่านั้นย่อมทูนจักรกรดนั้นไว้.
ก็นายมิตตวินทุกะกำลังพูดอยู่นั่นแหละ จักรแม้นั้นก็พัดกดลง
ไป ด้วยเหตุนั้น เขาจึงไม่อาจจะกล่าวอีกต่อไป. เทพบุตรจึงไปยัง
เทวสถานของตนทีเดียว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า นายมิตตวินทุกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายาก
ส่วนเทพบุตรในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามิตตวินทุกชาดกที่ 9

10. ปลาสชาดก


ว่าด้วยเหตุที่จะต้องหนีจากไป


[798] พระยาหงส์ได้กล่าวกะปลาสเทวดาว่า
ดูก่อนสหาย ต้นไทรเกิดติดอยู่ที่ค่าคบของ
ท่านแล้ว มันเจริญขึ้นแล้ว จะตัดสิ่งอัน
เป็นที่รักของท่านเสีย.
[799] ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึ่งทำต้นไทรให้เจริญ
ขึ้น ต้นไทรนี้จักเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า
เหมือนมารดาบิดาเป็นที่พึ่งของบุตรแล้ว
บุตรกลับเป็นที่พึ่งของมารดาบิดาฉะนั้น.
[800] มหาใดท่านจึงให้ต้นไม้ที่น่าหวาดเสีย
ดุจข้าศึก เจริญขั้นอยู่ที่ด่าคบ เหตุนั้น
ข้าพเจ้าบอกท่านแล้วจะไป ความเจริญแห่ง
ต้นไทรนั้นข้าพเจ้าไม่ชอบใจเลย.
[801] บัดนี้ ต้นไทรนี้ทำให้เราหวาดเสียว ภัย
อันใหญ่หลวงได้มาถึงเรา เพราะไม่รู้สึกถึง
คำของพระยาหงส์อันใหญ่หลวง ซึ่งควร
เปรียบด้วยขุนเขาสิเนรุราช.